Saturday 6 June 2009

บุพพกรรมของ พระเจ้ามิลินท์ และ พระนาคเสน

เรื่องเบื้องต้น
บุพพกรรมของพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน
กล่าวคือ เมื่อครั้งศาสนาของสมเด็จพระพุทธกัสสปโน้น
มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าวิชิตาวีเสวยราชอยู่ในสาครนครราชธานี
พระองค์ ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยสัคหวัตถุ ๔สร้างมหาวิหารลงไว้แม่น้ำคงคา ถวายพระเถระทั้งหลายที่ทรงคุณธรรมต่าง ๆ กันมีทรงพระไตรปิฎก เป็นต้นทั้งบำรุงด้วยปัจจัย ๔

เมื่อพระองค์ทรงสิ้น แล้วก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเป็น พระอินทร์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานิสงส์นั้นและมหาวิหารที่ท้าวเธอทรงสร้างไว้ ถึงพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ดีก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมาก

ใน พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นพระภิกษุทั้งหลายผู้สมบูญด้วยข้อวัตรเป็นอันดี เช้าขึ้นก็ถือเอาไม้กวาดด้ามยาวแล้วนึกถึงพระพุทธคุณ แล้วจึงพากันกวาดบริเวณพระเจดีย์กวาดเอาหยากเยื่อไปรวมเป็นกองไว้

มีพระภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลองค์หนึ่งเรียกสามเณรองค์หนึ่งว่า

"จงมานี้...สามเณร ? จงหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งเสีย"

สามเณร นั้นก็เฉยอยู่ เหมือนไม่ได้ยินพระภิกษุองค์นั้นเรียกสามเณรนั้นถึง ๓ ครั้งเห็นสามเณรนั่งนิ่งเฉยอยู่เหมือนไม้ได้ยินก็คิดว่า สามเณรองค์นี้หัวดื้อจึงไปตีด้วยด้ามไม้กวาด สามเณรก็ร้องไห้ด้วยความเจ็บปวดแล้วหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งด้วยความกลัว

เมื่อหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งนั้นได้ปรารถนาว่า
“ ด้วยผลบุญที่เราได้หอบหยากเยื่อมาทิ้งนี่หากเรายังไม่ถึงนิพพานเพียงใดเราจะ เกิดในภพใด ๆ ก็ตาม ขอให้เรามีเดชเหมือนกับดวงอาทิตย์เที่ยงวันฉะนั้นเถิด"

สามเณรตั้งความปรารถนาดังนี้แล้วก็เดินไปอาบน้ำที่แม่น้ำคงคา ดำผุดดำว่ายเล่นตามสบายใจ

เมื่อ สบายใจแล้วก็ได้เห็นละลอกคลื่นในแม่น้ำนี้มากมายนักหนาก็ยินดีปรีดาจะใคร่มี ปัญญาเฉลียวฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุจลูกคลื่นในแม่น้ำนั้นและได้คิดว่าอาจารย์ได้ใช้ให้เราหอบเอาหยากเยื่อมา ทิ้งนี้ ไม่ใช่เป็นกรรมของเราทั้งไม่ใช่เป็นกรรมของอาจารย์แต่เป็นการอนุเคราะห์เรา ให้ได้บุญเท่านั้น

ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงปรารถนาขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า
“ข้าพเจ้า ยังไม่ถึงนิพพานตราบใดไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใด ๆ ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไม่รู้สิ้นสุดเหมือนกับลูกคลึ่นในแม่น้ำคงคานี้เถิด”

ส่วน พระภิกษุผู้เป็นอาจารย์นั้นเมื่อเอาไม้กวาดไปเก็บไว้ที่โรงเก็บไม้กวาดแล้ว ก็ลงที่ท่าน้ำคงคาเพื่อจะอาบน้ำก็ได้ยินเสียงสามเณรตั้งความปรารถนา จึงคิดว่า
ความปรารถนาของสามเณรนี้เป็นความปรารถนาใหญ่ จะสำเร็จได้เพราะอาศัยพระพุทธคุณ

คิด ดังนี้แล้วจึงหัวเราะขึ้นด้วยความดีใจว่า สามเณรนี้ถึงเป็นผู้ที่เราใช้ก็ยังปรารถนาอย่างนี้ความปรารถนาของสามเณรนี้ จักสำเร็จเป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า
“ข้าพเจ้ายัง ไม่สำเร็จนิพพานตราบใดขอให้ข้าเจ้ามีปัญญาหาที่สุดมิได้เหมือนกับฝั่งแม่น้ำ คงคานี้ ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาปฎิภาณทั้งปวงที่สามเณรนี้ไต่ถามได้สิ้น
ให้ สามารถชี้แจงเหตุผลต้นปลายได้เหมือนกับบุรุษที่ม้วนกลุ่มด้ายสางด้ายอันยุ่ง ให้รู้ได้ว่า ข้างต้นข้างปลายฉะนั้นด้วยอำนาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กวาดวัด และใช้สามเณรให้นำหยากเยื่อมาเททิ้งนี้เถิด"

เมื่อบุคคลทั้งสองนั้น ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยดาและมนุษย์ ก็ล่วงมาถึง ๑ พุทธันดรพระพุทธเจ้าเราทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งของโลกได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า
ความ เกิดขึ้นแห่งพระเถระ มีพระโมคคลีบุตรติสสเถระและพระอุปคุตตเถระเป็นต้นจักปรากฎฉันใด ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลทั้งสองนั้น ก็จะปรากฎฉันนั้น

เมื่อเรา ปรินิพพานล่วงไปได้ ๕๐๐ ปีแล้ว บุคคลทั้งสองนั้นจักเกิดขึ้นธรรมวินัยอันใด อันเป็นของสุขุมที่เราแสดงไว้ ธรรมวินัยอันนั้นบุคคลทั้งสองนั้นจักแก้ไขให้หมดฟั่นเฝื่อด้วยการไต่ถาม ปัญหากัน ดังนี้

ต่อมาสามเณรนั้น ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนครอันมีในชมพูทวีปพระเจ้ามิลินท์นั้นเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดมีความคิดดีสามารถรู้เหตุการณ์อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันได้

เป็น ผู้ใคร่ครวญในเหตุการณ์ถี่ถ้วนทุกประการ เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆไว้เป็นอันมาก ถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์

ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการคือ

๑. รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น
๒. รู้จักกำหนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่า ชื่อนั้น ๆ
๓. คัมภีร์เลข
๔. คัมภีร์ช่าง
๕. คัมภีร์นิติศาสตร์รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง
๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล
๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์รู้ตำราดวงดาว
๘. คันธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี
๙. เวชชศาสตร์รู้คัมภีร์แพทย์
๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู
๑๑. ประวัติศาสตร์
๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน
๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้วนี่มิใช่แก้ว เป็นต้น
๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุรู้จักผลจะบังเกิด
๑๕. ภูมิศาสตร์รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือรู้จักการที่จะจะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล
๑๖.ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม
๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร
๑๘.ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง

พระ เจ้ามิลินท์นั้นมีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก ปรากฎยิ่งกว่าพวกเดียรถีทั้งปวงไม่มีใครเสมอเหมือนในทางสติปัญญา ทั้งประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ คือ
๑. มีเรียวแรงมาก
๒. มีปัญญามาก
๓. มีพระราชทรัพย์มาก

อยู่มาคราวหนึ่งพระเจ้ามิลินท์ได้เสด็จออกจากพระนครด้วยพลนิกรเป็นอันมากหยุดอยู่นอกพระนครแล้วตรัสแก่พวกอำมาตย์ว่า

" เวลายังเหลืออยู่มากเราจะทำอะไรดีเราจะกลับเข้าเมืองก็ยังวันอยู่สมณพราหมณ์ เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ที่ยืนยันว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ใดหนอ อาจสนทนากันเราได้ อาจตัดความสงสัยของเราได้"

เมื่อตรัสอย่างนี้ พวกโยนกข้าหลวงทั้ง ๕๐๐ ก็กราบทูลขึ้นว่า

" ข้าแต่มหาราชาเจ้า บัณฑิตที่จะพอสนทนากับพระองค์ได้นั้นมีอยู่ คือครูทั้ง๖ อันได้แก่ปรูณกัสสป มักขลิโคลาส นิคัณฐนาฎบุตรสญชัยเวฬฎฐบุตร อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะพระเจ้าข้า ครูทั้ง ๗ นั้นเป็นเจ้าหมู่คณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียงปรากฎ มียศบริวารมีผู้คนนับถือมากขอมหาราชาเจ้าจงเสด็จไปไต่ถามปัญหา ต่อคณาจารย์เหล่านั้นเถิดคณาจารย์เหล่านั้นจะตัดความสงสัยของพระองค์ได้ พระเจ้าข้า
free programes

Read more!

0 comments:

INDIAN SONG

THAI SONG

Template by : kendhin news blog